/  บทความ



สาเหตุที่ไม่ควรให้ลูกติดสื่อออนไลน์ ​​/ ดร.แพง ชินพงศ์


Author : meaw, 22/12/2013, | Views : 1,551





         ในโลกยุคปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตและสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่าง มากทีเดียว ในระบบการศึกษาแต่ก่อนนั้น หากเด็กนักเรียนนักศึกษาต้องทำการบ้านหรือรายงานต่างๆ ก็จะค้นหาข้อมูลผ่านหนังสือสิ่งพิมพ์ที่อยู่ในห้องสมุด แต่สมัยนี้แทบจะทุกคนทำการค้นหาข้อมูลผ่านทางระบบออนไลน์ บางคนสามารถลอกงานกันได้ง่ายๆ ผ่านสื่อจำพวกนี้
 
       เด็กที่อายุ 10 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่มักจะมีการใช้อีเมล์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไลน์ วอทซ์แอป อินสตาแกรมอย่างแพร่หลาย หากใครไม่มีแอปฯไม่มีการติดต่อสื่อสารทางสังคมออนไลน์แบบนี้ก็ถือว่าตกเท รนด์ ไม่ทันสมัยและเชยมาก แต่สื่อสังคมออนไลน์นั้นเหมือนดาบสองคม คือมีทั้งให้คุณและให้โทษด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะ แม้ว่าระบบการสื่อสารที่ทันสมัยของเทคโนโลยีจะทำให้เราก้าวทันเหตุการณ์แต่ ในทางกลับกันการให้ลูกหมกมุ่นกับสังคมออนไลน์มากเกินไปอาจมีอันตรายต่อเด็ก ได้เช่นกัน ดังนี้
       
       1.สร้างให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมใหัเกิดขึ้น มีเด็กๆหลายคนที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไม่รู้ตัวเพราะสื่อออนไลน์ เช่น ลูกเห็นว่าเพื่อนๆลงรูปแต่งตัวโป๊ วับๆ แวมๆ ลงตามสื่อออนไลน์ต่างๆแล้วมีคนให้ความสนใจกด like จำนวนมาก เด็กก็เลยอยากจะเป็นที่สนใจเช่นนั้น ก็เลยนำรูปถ่ายวับๆแวมๆของตนเองลงตามสื่อออนไลน์ต่างๆ บ้าง ทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและอาจมีผลกระทบต่อการเรียนและการใช้ ชีวิตอยู่ในสังคมของลูกได้
       
       2.อาจตกเป็นเหยื่อของพวกผู้ร้ายหรือผู้ที่ไม่ประสงค์ดี พวกคนร้ายมักแฝงตัวอยู่ในสังคมออนไลน์เพราะมันสามารถทำความผิดได้ง่ายโดยไม่ จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง การรับบุคคลใดเป็นเพื่อนผ่านเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือโปรแกรมสนทนาออนไลน์โดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน อาจเป็นช่องทางให้ถูกหลอกลวง ซึ่งแน่นอนว่าอาจเกิดความไม่ปลอดภัยและเกิดผลเสียต่อลูกได้ เช่น การหลอกนัดให้ออกมาเจอตัวกันจริงๆแล้วพาไปล่วงละเมิดทางเพศหรือชิงทรัพย์ หรือไม่เช่นนั้นอาจเป็นช่องทางให้คนที่คิดไม่ดีกับเด็ก ใส่ความในทางที่อาจเสียหายต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง เช่น การนำรูปเด็กไปตัดต่อ การนำข้อมูลส่วนตัวของเด็กไปใช้ในทางที่เสียหาย
       
       3.ทำให้หมดเปลืองเวลาโดยไร้ประโยชน์ หากเทียบกับผู้ใหญ่ที่หมกมุ่นอยู่ในสื่อออนไลน์ การแชทผ่านทางวอทซ์แอป ไลน์ การเข้าไปดูข่าวสารหรือการเข้าไปดูยูทิวบ์ ยังสามารถทำให้เสียเวลาเสียงานเสียการไปมาก ยิ่งไปกว่านั้นสักแค่ไหนสำหรับลูกซึ่งยังเป็นเด็กอยู่ในวัยที่ไม่สามารถควบ คุมตัวเอง อารมณ์และความต้องการได้ จะยิ่งตกเป็นทาสของสื่อออนไลน์มากยิ่งไปกว่าผู้ใหญ่เสียอีก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเข้ามาช่วยควบคุมลูกในเรื่องของเวลาในการเล่นสื่อออ นไลน์อย่างจริงจัง เช่น กำหนดให้ใช้โทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตได้หลังจากทำการบ้าน อ่านหนังสือทบทวนบทเรียนเรียบร้อยแล้ว หรือกำหนดจำนวนชั่วโมงที่จะให้ใช้ได้ จะช่วยให้เด็กไม่ติดกับมันมากเกินไปและทำให้เขามีเวลาทำกิจกรรมอย่างอื่นมาก ขึ้น
       
       4.ทำใหัละเลยกิจกรรมที่มีประโยชน์ การใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตหรือสมาร์ทโฟนมากเกินไป ทำให้เด็กไม่ได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่ควรจะทำตามวัย เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน พูดคุยกับครอบครัว รวมถึงการทำงานเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม
       
       5.ลักลอบทำสิ่งผิดกฎหมาย มีเว็บไซต์มากมายที่เป็นช่องทางแห่งอบายมุขและการทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เช่น การค้าประเวณี การขายยาเสพติด การพนันออนไลน์ ซึ่งหากลูกเข้าไปดูไปชมเว็บไซต์เหล่านี้ก็อาจถูกชักชวนให้เข้าไปข้องเกี่ยว กับสิ่งไม่ดีเหล่านี้ได้ ด้วยความที่เด็กๆเป็นวัยที่อยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากลอง ก็อาจทำให้ถูกหลอกล่อได้ง่าย
       
       6.เป็นสื่อสกปรกที่ใช้ทำร้ายกันได้ไม่ยาก สังคมออนไลน์เป็นแหล่งของการหลอกลวงที่ใหญ่มาก เด็กๆจะได้อ่านข้อความใส่ร้าย โจมตี หยาบคาย ลามก ตลอดจนการลงรูปภาพผ่านทางสื่อออนไลน์ที่อาจจะเป็นรูปภาพที่แต่งเติมตัดต่อ เพื่อใช้ประจานหรือกลั่นแกล้งผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งจะทำให้ลูกซึมซับความก้าวร้าว รุนแรง ผ่านสื่อเหล่านี้ไปอย่างไม่รู้ตัว
       
       จริงๆ แล้วสื่อออนไลน์เป็นสื่อที่มีประโยชน์มากหากเรานำมาใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูล ต่างๆ หรือนำมาใช้ให้เกิดความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร แต่หากใช้มันเพื่อทำการไม่ดี หรือใช้อย่างหมกมุ่นมั่วสุมเกินกว่าความจำเป็น ก็อาจเป็นโทษได้อย่างมากมายเช่นกัน
       
       ดังนั้น ในฐานะของคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่และให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่เด็กๆในการ ใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์อย่างเหมาะสม และคุณพ่อคุณแม่ควรตัองศึกษาการใช้สื่อออนไลน์ไว้ด้วยเพื่อใช้ในการดูแลลูก เช่น หากลูกถูกล่อลวงและหายออกจากบ้านไป อาจต้องใช้ระบบติดตาม GPS ที่อยู่ในสมาร์ทโฟนในการช่วยติดตามหาสถานที่ๆลูกอยู่ได้ หรือใช้ติดต่อสื่อสารกับเพื่อนของลูกหรือผู้ปกครองของเพื่อนลูก หรือรู้จักการบล็อกเว็บที่เป็นอันตรายต่อเด็ก นี่แหละถึงจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ของลูกยุคออนไลน์อย่างแท้จริง
 
ที่มา : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 16 ธันวาคม 2556



Tags :      สื่อออนไลน์






แสดงความคิดเห็น

ข้อความ




* รหัสป้องกันสแปม


   








บทความที่เกี่ยวข้อง



เทคนิคการเจรจาต่อรอง


Author : meaw, 22/12/2013 | Views : 2,225